ตัวอย่างทางธรณีวิทยา มาตรฐานคลังตัวอย่าง ความเป็นมา เอกสารเผยแพร่ ติดต่อเรา
หน้าหลัก > มาตรฐานคลังตัวอย่าง
มาตรฐานคลังตัวอย่าง

เกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณาตรวจรับตัวอย่างมาตรฐาน
                ตัวอย่างหิน แร่ และซากดึกดำบรรพ์ ที่ส่งเข้ามาเก็บที่คลังตัวอย่างทางธรณีวิทยานั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคัดเลือกตัวอย่างที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่มีข้อมูลสมบูรณ์ ง่ายต่อการสืบค้นและสามารถนำตัวอย่างกลับมาใช้ง่าย ซึ่งหากได้รับตัวอย่างที่ไม่ได้มาตรฐานเช่น ขนาดเล็กเกินไปก็จะขาดรายละเอียดของตัวอย่างและไม่สามารถนำไปใช้งานได้อีก หรือขาดข้อมูลของตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างจะทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าตัวอย่างนั้นมาจากที่ใด ดังนั้นหากตัวอย่างที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านี้ถูกเก็บรวบรวมเข้าไว้ในคลังตัวอย่างเป็นจำนวนมากแล้ว ก็จะเกิดความยุ่งยาก สับสน และความเสียหายต่อระบบคลังตัวอย่างได้ เช่น การจัดเก็บตัวอย่างจะมีความซับซ้อนเนื่องจากตัวอย่างมีขนาดที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหาพื้นที่เก็บตัวอย่างไม่พอในอนาคต หรือตัวอย่างที่ไม่ระบุตำแหน่งเก็บตัวอย่าง ก็จะไม่สามารถอ้างอิงถึงที่มาของตัวอย่างได้และไม่สามารถที่จะไปเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมได้หากตัวอย่างนั้นมีข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญ
                1. ตัวอย่างชนิด A เป็นตัวอย่างที่ได้มาจากการเก็บเชิงพื้นที่ จากโครงการต่าง ๆ
                2. ตัวอย่างชนิด S เป็นตัวอย่างที่ได้มาจากการจัดทำมาตรฐานการลำดับชั้นหิน
                ตัวอย่างทั้ง 2 แบบ ต้องมีขนาดแบบมาตรฐานเทียบได้ ขนาดไม่ต่ำกว่าขนาด hand specimen หรือขนาดอย่างน้อย 10 x 4 x 8 เซนติเมตร สำหรับเข้าคลังตัวอย่างมาตรฐานธรณีวิทยา และความสมบูรณ์ของข้อมูลคลังตัวอย่างที่จัดเก็บ ประกอบไปด้วยเนื้อหาดังนี้อย่างน้อย 9 รายการตามลำดับ และจัดพิมพ์ข้อมูลลงในระบบ Digital จึงจะถือ FILE EXCEL ตามแบบที่กำหนด (รูปที่ 37) ว่าสมบูรณ์เกินกว่าร้อยละ 80 เนื่องจากเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้อ้างอิง และมีผลต่อระบบการสืบค้นและเชื่อมโยงข้อมูลได้แก่
                1. ชื่อผู้ส่ง ตัวอย่าง
                2. วัน/เดือน/ปี ที่ส่งตัวอย่าง
                3. หมายเลขตู้เอกสารที่จัดเก็บ/หมายเลขชั้นที่จัดเก็บ เพื่อระบบการสืบค้น
                4. หมายเลขทะเบียนกลางเพื่อการอ้างอิง และเพื่อป้องกันการสับสนในการอ้างอิงข้อมูล
                5. ตัวอย่างต้องมีหมายเลขตัวอย่างในภาคสนาม
                6. ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ของจุดเก็บตัวอย่าง (UTM) และระบบพิกัดของแผนที่
                7. สถานที่เก็บ เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด /หรือประเทศ ในกรณีที่เป็นตัวอย่างจากต่างประเทศ
                8. ระวางแผนที่ ลงหมายเลขระวาง และมาตราส่วนแผนที่อ้างอิง
                9. ระบุชนิดของตัวอย่าง เบื้องต้น (อาทิ ชนิด/ชื่อหิน/ซากดึกดำบรรพ์)
                10. คำอธิบายข้อมูลตัวอย่าง เพื่อการตรวจสอบซ้ำ คำอธิบายอาจได้ภายหลังมีผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ อาจต้องใช้เวลาหลายเดือน
                11. การระบุชื่อกลุ่มหิน หมวดหิน หมู่หิน หรือ อายุ ในระบบการลำดับชั้นหินของประเทศไทยของกรมทรัพยากรธรณี
                12. รูปถ่ายก้อนตัวอย่าง เพื่อระบบการอ้างอิงและค้นคว้า



รหัสของตัวอย่างแต่ละประเภท
ประเภทตัวอย่างรหัสตัวอย่าง
ตัวอย่างหินเชิงพื้นที่ (Area base)A
ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์เชิงพื้นที่ (Fossil)F
ตัวอย่างแร่เชิงพื้นที่ (Mineral)M
ตัวอย่างมาตรฐานลำดับชั้นหิน (Stratigraphy)S
ตัวอย่างหินประดับ (Dimension stone)D
ตัวอย่างแร่-หินจากต่างประเทศ (Foreign sample)FS
ตัวอย่างจากหลุมเจาะ (Core and Cutting C
ตัวอย่างหายาก (Rare materials)R
ตัวอย่างโครงสร้างธรณีวิทยา (Structural)T
ตัวอย่างตะกอนQ
หินขัดมัน (Polished section)ตามเลขตัวอย่าง
แผ่นหินบาง (Thin-section)ตามเลขตัวอย่าง
ตัวอย่างผง (Powder and mineral residues)ตามเลขตัวอย่าง
ตัวอย่างพิเศษ หินก้อนใหญ่ (Extra sample)X (เขียนนำหน้าอักษรนำของแต่ละประเภท)
แท่งจำลองลำดับชั้นหิน-
รายงานสำรวจ/วิชาการ-
แผนที่ธรณีวิทยา-
ข้อมูลรูปถ่าย (Photographic archive)ตามเลขตัวอย่าง
ข้อมูล VDOชื่อสถานที่